หากเอ่ยถึง “สามก๊ก” หลายคนต้องนึกถึง “โจโฉ“
ผู้นำอันยิ่งใหญ่แห่ง “วุยก๊ก”
Centrovirtual จะนำท่านไปรู้จัก ก๊ก “วุย” กัน

วุยก๊ก เป็นก๊กที่เข้มแข็งและมีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดในยุคสามก๊ก มีอายุยืนยาว 45 ปี เมืองหลวงเดิมอยู่ที่ฮูโต๋ ซึ่งเป็นราชธานีที่โจโฉสร้างขึ้นมาและเชิญเสด็จพระเจ้าเหี้ยนเต้ไปประทับ จากนั้น โจผีถอดพระเจ้าเหี้ยนเต้ออกจากราชบัลลังก์และขึ้นครองราชย์แทน ก่อนจะย้ายเมืองหลวงกลับไปที่ลกเอี๋ยง ซึ่งเป็นราชธานีเดิมสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก วุยก๊กครอบครองดินแดนทางเหนือของประเทศอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทั้งก๊กมีประชากรประมาณ 4, 400,000 คน หรือคิดเป็น 58 เปอร์เซ็นต์ของแผ่นดินจีนวุยก๊กมีฮ่องเต้ทั้งหมด 5 พระองค์ แต่เป็นการสถาปนาย้อนหลังหนึ่งพระองค์ คือ พระเจ้าโจโฉ หากรวมพระเจ้าโจโฉด้วย วุยก๊กจะมีฮ่องเต้ถึง 6 พระองค์ คือ พระเจ้าโจโฉ พระเจ้าโจผี พระเจ้าโจยอย พระเจ้าโจฮองและพระเจ้าโจฮวน
กำลังทหาร
แรกเริ่มเดิมที โจโฉมีกำลังทหารของตนเองประมาณ 5, 000 นาย โดยทหารเอกส่วนใหญ่มาจากอาสาสมัครที่เป็นญาติหรือแซ่เดียวกัน เช่น แฮหัวตุ้น แฮหัวเอี๋ยน โจหยิน โจหอง (โจโฉเดิมแซ่ แฮหัว แต่เปลี่ยนเป็นแซ่โจตามพ่อ เพราะพ่อของโจโฉคือโจโก๋ เปลี่ยนไปใช้แซ่โจตามพ่อบุญธรรมซึ่งเป็นขันทีชื่อโจเท้ง)
กองทัพของโจโฉเติบโตแบบก้าวกระโดดจากการเอาชนะกบฏโพกผ้าเหลือง ทำให้ได้ทหารอีกรวมประมาณ 300,000 นาย กลายเป็นกองทัพขนาดมหึมาในยุคนั้น
ต่อมากำลังทหารโจโฉยิ่งเพิ่มขึ้นจากการชนะอ้วนเสี้ยวในศึกกัวต๋อ และเพิ่มมากขึ้นอีกหลังจากยึดได้เกงจิ๋ว (กวางโจว) ทำให้โจโฉผูกขาดกองทหารม้าไว้ได้แต่ผู้เดียว
ในยุคนี้มีการสร้างอานม้าและโกลนเพื่อช่วยในการบังคับ ทำให้ประสิทธิภาพของกองทหารม้าสูงขึ้น ทำให้กองทัพวุยก๊กมีประสิทธิภาพในการรบภาคพื้นดินดีเยี่ยม ทหารม้าสามารถตีตะลุยผ่ากองทหารเดินเท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ม้าศึกช่วยให้ยกไปโจมตีข้าศึกได้อย่างรวดเร็วและสามารถหนีได้อย่างรวดเร็ว แต่ในสมัยนั้น การใช้ม้าคงไม่ได้กว้างขวาง น่าจะยังมีจำกัดให้ใช้เฉพาะแม่ทัพนายกองคนสำคัญเท่านั้น ทหารส่วนใหญ่ยังคงพลเดินเท้า
กองทหารม้ามักถูกใช้ในยุทธการแบบสายฟ้าแลบ เช่น ใช้โจมตีตัดเสบียงของฝ่ายข้าศึก ตีตัดกองกำลังของข้าศึกให้แยกออกเป็นส่วนๆแล้วทำลายทิ้ง ซึ่งโจโฉเชี่ยวชาญยุทธศาสตร์ด้านนี้มาก เพราะมีกองทหารม้าที่มีประสิทธิภาพ
สถาบันทางการทหาร
โครงสร้างบัญชาการของทัพวุยก๊กก็ถ่ายทอดมาจากระบอบการบังคับบัญชาของฮั่น แต่เมื่อโจโฉได้กำลังพลของอ้วนเสี้ยวมาปกครองก็มีการปรับเปลี่ยนสายการบังคับบัญชาขึ้นมาใหม่ โดยมีทหารอาชีพส่วนกลาง และกองกำลังในภูมิภาคเรียกว่า กองทัพภายนอก
ทัพส่วนกลางมีที่มาจากทหารองครักษ์ของโจโฉซึ่งเรียกว่ากองทหารเสือและเสือดาว ผู้บัญชาการก็มักเป็นเครือญาติของโจโฉ เช่น โจฮิว จิ๋น ส่วนทหารเอกก็เช่นเคาทู เตียนอุย เป็นต้น ในปีค.ศ. 220 กองทัพส่วนกลางได้กรมเดียวเรียกว่าจงเจียน ภายใต้การบังคับบัญชาของเคาทู พอถึงยุคสมัยของโจผีและโจยอย ในปีค.ศ. 230 ก็มีทหารส่วนกลางอยู่ 5 กองด้วยกัน
กองทัพภูมิภาคมักมีขนาดใหญ่กว่ากองทัพส่วนกลาง บางกองอาจมีกำลังพลมากกว่า 50, 000 คน ในปีค.ศ. 222 โจผีแยกกองกำลังภูมิภาคแบ่งตามจังหวัดโดยมีหัวหน้าผู้ควบคุม (Chief Controllers) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลาง กองกำลังภูมิภาคมักหมายความถึง กองทัพตะวันออก นอกจากนี้ก็มีทหารชายแดน ซึ่งถูกควบคุมโดยผู้บัญชาการใหญ่ (Grand administrators) หรือผู้ตรวจการ (Inspector) ตำแหน่งทั้งสองนี้มักจะแยกกันดูแล พลเรือนและทหารในเขตแดนนั้น
บูซู
บูซูเป็นนักสู้อิสระ บูและซูเป็นหน่วยย่อยของทัพ ระหว่างราชวงศ์ฮั่นถึงสามก๊ก มีการรวมคำทั้งสองนี้เพื่อหมายถึงกองทัพทหารอิสระที่ทำงานให้กับขุนศึกเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างแม่ทัพ 2 ทัพกับบูซู เป็นแบบสืบทอดตามสายเลือด ถ้าแม่ทัพตาย บุตรชายคนโตก็จะขึ้นสืบทอดตำแหน่งแทน แต่ถ้าทหารตาย สมาชิกในครอบครัวที่เป็นชายจะได้รับตำแหน่งต่อ ส่วนคนอื่นๆ ก็จะเป็นแรงงานในภาคเกษตร ซึ่งผลตอบแทนก็คือ จะได้รับสถานะให้เป็นเจ้าของที่ดิน (คล้ายกับระบบศักดินาของไทย)
เนื่องจากในสมัยจักรพรรดิกวงอูได้ปลดประจำการทหารทำให้กองกำลังตามจังหวัดอ่อนแอ ส่วนทหารชายแดนจะถูกยกระดับชั่วคราวในเวลาที่มีศึกสงครามเท่านั้นหลังจากที่ระบอบฮั่นล่มสลายลง วุยก๊กก็ได้ยกระดับรูปแบบบูซูขึ้นขนานใหญ่ ครอบครัวของนายทหารจะต้องย้ายไปอยู่ในเมืองหลวงหรือรอบๆ เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมมิให้แปรพักตร์ในยามที่ไปรบ ทหารและครอบครัวถือว่าเป็นทรัพย์สินของกองทัพ ทหารและบุคคลในครอบครัวที่มีสถานะทางทหารเท่านั้น เพื่อให้แน่ใจว่าการแต่งงานไปภายนอกจะไม่ทำให้กำลังคนของกองทัพลดน้อยลง และจะต้องรับใช้กองทัพไปตลอดชีวิต
นโยบายตันเถียน
นโยบายตันเถียนเป็นระบบผลิตอาหารให้กองทัพ ก่อตั้งโดยโจโฉ โดยการใช้เหล่าทหารที่ว่างเว้นจากการรบได้ร่วมทำนากับราษฏร์เพื่อให้มีการผลิตให้มีการผลิตอาหารอย่างพอเพียงแก่กองทัพวุย ส่วนรายละเอียดไม่ปรากฏชัดว่ามีรูปแบบอย่างไร
จุดแข็ง
วุยก๊กเป็นก๊กที่กุมอำนาจทางการเมืองการทหารไว้ทั้งหมด อีกทั้งยังตั้งอยู่ ณ ใจกลางของแผ่นดินจีน จึงถือได้ว่ามีความได้เปรียบก๊กอื่นๆทั้งด้านกำลังทหารและทรัพยากรต่างๆ ด้วยพื้นที่ที่กว้างขวาง ทำให้วุยก๊กแผ่ขยายดินแดนไปเรื่อยๆ ในลักษณะปลาใหญ่กินปลาเล็กจนยากที่ก๊กอื่นจะต่อกรได้ ปัจจัยสำคัญที่สุดของวุยก๊กก็คือ ทรัพยากรบุคคลที่วางรากฐานมาตั้งแต่พระเจ้าโจโฉ ไม่ว่าจะเป็นนักรบฝ่ายบู๊และมันสมองของกุนซือฝ่ายบุ๋นที่มีมากมายกว่าก๊กอื่นๆ
จุดอ่อน
ในช่วงปลายราชวงศ์วุย หลังจากพระเจ้าโจยอยสิ้นพระชนม์ ฮ่องเต้วุยก๊กล้วนแต่ทรงพระเยาว์ การเมืองในประเทศจึงเกิดความวุ่นวายอย่างมาก เกิดการแก่งแย่งอำนาจภายในและการปฏิวัติรัฐประหาร ในที่สุด อำนาจเบ็ดเสร็จตกเป็นของตระกูลสุมา นำโดยสุมาอี้กับลูกชายสองคน คือ สุมาสู กับ สุมาเจียว ทำให้ราชวงศ์วุยอ่อนแอลง ท้ายที่สุดแม้จะรวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งได้ แต่ก็ไม่ใช่ในนามของราชวงศ์วุยและตระกูลโจอีกต่อไป
ความพ่ายแพ้ของโจโฉ
ในศึก 18 หัวเมืองโค่นทรราชย์ตั๋งโต๊ะ ภายใต้การนำของอ้วนเสี้ยว แม่ทัพใหญ่ค่ายพันธมิตร18 หัวเมือง สามารถสร้างแรงกดดันให้ตั๋งโต๊ะจำเป็นต้องใช้ทางเลือกที่ 3 คือ “ย้ายเมืองหลวง” จากลกเอี๋ยงไปสู่เตียงอั๋น เพื่อตั้งหลักใหม่
โจโฉทราบข่าวการเคลื่อนทัพของตั๋งโต๊ะ จึงเร่งให้เปิดประชุมแม่ทัพนายกอง เพื่อขอมติยกทัพไล่ตีตั๋งโต๊ะให้สิ้นซาก
ทว่าอ้วนเสี้ยวกลับค้านแล้วบอกว่า
“ไม่เอาน่า กว่าเราจะยึดพระนครลกเอี๋ยงก็เหนื่อยกันมามาก”
โจโฉมองหน้าเหล่าขุนศึกแม่ทัพนายกองแล้วบอกว่า
“เฮ้ย เป้าหมายเราคือฟื้นฟูฮั่น ไม่ใช่ยึดพระนครที่เหลือแต่ตอ”
(ก่อนย้ายเมืองหลวงตั๋งโต๊ะสั่งเผาพระนคร เพื่อไม่ให้เป็นฐานกำลังของกองทัพ 18 หัวเมือง)
เหล่าแม่ทัพนายกองทุกคนกลับนิ่ง ยิ่งทำให้โจโฉเดือดดาลมากขึ้นถึงกับควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ตะโกนออกไปว่า
“คิดการกับเด็กเลี้ยงวัว มันไม่ได้เรื่องสักคนเดียว”
แล้วรีบออกไปจัดทัพของตนเองประมาณหมื่นคน เร่งยกทัพติดตามกองทัพตั๋งโต๊ะ
ไปได้ไม่ไกลเท่าไหร่ก็เจอกองทัพลิโป้ดักสกัด แต่ขณะนั้นโจโฉกำลังโกรธ จึงเห็นเสือกลายเป็นแมว
จึงสั่งลุยทันที สักพักก็มีกองทัพจากทางซ้ายเข้าตี
โจโฉสั่งตั้งรับด้านซ้าย เวลาผ่านไปไม่นานก็มีกอง
ทัพด้านขวาออกมาตีกระหนาบ
เป็นอันว่าโจโฉถูกกระหนาบจาก 3 ทิศ ทำให้พ่ายแพ้ยับเยิน แม้จะพาทหารบางส่วนหนีมาได้ มีโอกาสได้พักหายใจ และเตรียมหุงข้าวหาเสบียง
จู่ ๆ ก็มีอีกกองทัพหนึ่งยกทัพเข้าอย่างรวดเร็ว จนโจโฉตั้งตัวไม่ทัน กองทัพที่เหลือจึงทอดกาย กลายเป็นศพ โจโฉหนีเอาตัวรอดมาได้ และได้รับความช่วยเหลือจากโจหยิน ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้อง พาว่ายน้ำข้ามฝั่งมาในสภาพบาดเจ็บหนักทั้งคู่ แต่โชคดีได้มาพบกับแฮหัวตุ้น ทหารเอกของตนเอง จึงรวมกำลังทหารที่เหลือกลับมาเพียงไม่กี่พันคน กลับไปยังค่ายกองทัพ 18 หัวเมือง
เรื่องราวในตอนนี้ถือว่าเป็นบทเรียนที่ดี สำหรับหลายคน ๆ ที่ชอบมองแต่โอกาส ไม่เคยวิเคราะห์ความเสี่ยง เพราะหากคุณจับจ้องแต่โอกาส จนลืมสิ่งที่เรียกว่าความเสี่ยง โอกาสดังกล่าวจะกลายเป็นวิกฤต
โดยที่คุณไม่รู้ตัว แม่ทัพที่กล้าไม่ใช่แม่ทัพที่บ้าบิ่น
แต่เป็นแม่ทัพที่ต้องสุขุม ลุ่มลึก วางแผนการอย่างรอบคอบ ก่อนออกศึก
ผู้นำยุคนี้ส่วนมากชอบมองไปที่โอกาส อยากประสบความสำเร็จเร็ว จนลืมความเสี่ยงและแนวคิดที่ว่า “ยิ่งเร็ว ก็ยิ่งแรง” สำเร็จเร็วเพราะออกตัวแรง แต่ลืมคิดไปว่าถนนมันไม่ได้เป็นเส้นตรงทุกเส้น โดยเฉพาะถนนชีวิต หากออกตัวแรง อาจแหกโค้งตั้งแต่ยกแรก
ฉะนั้นการเป็นผู้นำต้องมองให้ออกว่า ในโอกาสย่อมมีความเสี่ยง หากรับความเสี่ยงได้ก็ดำเนินการเถอะครับ แต่ถ้าความเสี่ยงสูงจนยากจะรับได้ บอกได้คำเดียวเลยว่า
ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก ufabet.com