
พิธีละหมาด พิธีแสดงความความภักดีต่ออัลลอฮ์
หลายคนอาจเคยเห็นการประกอบพิธีนี้
แต่อาจจะไม่เคยทราบความหมายที่แท้จริง
วันนี้ Centrovirtual จะพาคุณไปรู้จักที่มาที่ไปของพิธีละหมาดกัน
พิธีละหมาด
ละหมาด หรือ นมาซ หรือเรียกกันในภาษามลายูปัตตานีว่า มาแย คือการนมัสการพระเจ้า อันเป็นศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อแสดงถึงความเคารพสักการะ ความขอบคุณ และความภักดีต่ออัลลอฮ์ โดยทั่วไปการละหมาดคือการขอพร ส่วนทางศาสนาหมายถึงการกล่าวและการกระทำ การละหมาดจะกระทำ 5 เวลา ได้แก่ ยามรุ่งอรุณ (ซุบฮี), ยามบ่ายช่วงตะวันคล้อย (ดุฮรี), ยามเย็น (อัศรี), ยามอาทิตย์ตกดิน (มัฆริบ) และยามค่ำคืน (อิชาอ์) ซึ่งการละหมาดทุกครั้งจะต้องหันหน้าไปทางทิศกิบลัตในเมืองมักกะฮ์
คำว่า “ละหมาด” หรือ “นมาซ” เป็นคำยืมมาจากภาษาเปอร์เซียมาจากคำว่า “นมาซ” (เปอร์เซีย: نَماز namāz)
ภาษาอาหรับเรียกว่า “ศอลาต” (อาหรับ: صلاة ṣalāh หรือ gen: ṣalāt; พหูพจน์ صلوات ṣalawāt) มาจากรากศัพท์ที่ประกอบด้วย ศอด (ص) , ลาม (ل) , และวาว (و) ความหมายของรากศัพท์นี้ในภาษาอาหรับคลาสสิกคือ สวดมนต์ อ้อนวอน บูชา ร้องทุกข์ กล่าวสุนทรพจน์ ขอพร ตามไปอย่างใกล้ชิด หรือ ติดต่อ ความหมายที่เป็นรากฐานของคำนี้เกี่ยวข้องกับความหมายที่ใช้ในอัลกุรอานทั้งหมด
ส่วนภาษามลายูว่า “เซิมบะห์ยัง” (มลายู: Sembahyang) ที่เป็นคำที่ประกอบจากคำว่า ‘เซิมบะห์’ (sembah บูชา) และ ‘ฮยัง’ (hyang พระเจ้า) ซึ่งเพี้ยนเป็นภาษามลายูปัตตานีว่า “ซือมาแย” หรือ “สมาแย” และสำเนียงสงขลาว่า “มาหยัง”
เงื่อนไขของการละหมาด
- ต้องเป็นมุสลิม
- มีเจตนาแน่วแน่ (นียะหฺ)
- หันหน้าไปทางทิศกิบลัต (ทิศตะวันตกของประเทศไทย) คือที่ตั้งของเมกกะ
- การประกาศบอกเวลาละหมาด (อะซาน)
- การประกาศให้ยืนขึ้นเพื่อละหมาด (อิกอมะหฺ)
- ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า สถานที่
ชนิดของการละหมาด
การละหมาดที่ไคโร, Jean-Léon Gérôme
- ละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎ) วันละ 5 เวลา (การละเว้นละหมาดชนิดนี้เป็นบาป) ประกอบด้วย
- ย่ำรุ่ง (ศุบฮิ) ประมาณ ตี 5 – 6 โมงเช้า
- บ่าย (ซุหฺริ) ประมาณ เที่ยงครึ่ง – บ่ายโมงกว่าๆ
- เย็น (อัศริ) ประมาณ บ่าย 3 ถึง 5 โมงเย็น
- พลบค่ำ (มัฆริบ) ประมาณ 6 โมงครึ่ง ถึง ทุ่มกว่า ๆ
- กลางคืน (อิชาอ์) ก่อนนอน ประมาณ 1 ทุ่มเป็นต้นไป
- ละหมาดวันศุกร์ (ญุมุอะหฺ) เป็นการละหมาดร่วมกันในเวลาบ่าย ก่อนละหมาดจะมีเทศนา (คุฏบะหฺ) เป็นข้อบังคับเฉพาะผู้ชาย
- ละหมาดอื่น ๆ ได้แก่ละหมาดในวันอิดุลฟิฏริ และวันอีดุลอัฏฮา ละหมาดในเดือนรอมะฎอน (ในนิกายซุนนีเรียกว่า ตะรอวีฮฺ) ละหมาดเมื่อเกิดสุริยคราส (กุซูฟ) และจันทรคราส (คูซูฟ) ละหมาดขอฝน (อิสติสกออ์) ละหมาดให้ผู้ตาย (ญะนาซะหฺ) และละหมาดขอพรในกรณีต่าง ๆ
ลัทธิกุรอานิยมหรือกุรอานียูน
รอานียูน (Quraniyoon) หรือ (Quranists) ตามชื่อกลุ่มเหมือนจะดำรงไว้ซึ่งหลักศาสนาแต่หารู้ไม่พวกเขาคือกลุ่มที่ นิยมอัลกุรอานเพียงอย่างเดียว ปฏิเสธอัลหะดีษที่มีน้ำหนักและสายรายงานถูกต้อง ปฏิเสธความเห็นของบรรดาสลัฟ(สาวกในยุคของท่านนบีมุฮัมมัด) ซึ่งนบีให้การรับรองด้วยตัวของท่านนบีเองว่า สาวกเหล่านี้เป็นกลุ่มคนในยุคที่ประเสริฐที่สุด เข้าใจศาสนาที่สุด แต่เขาเอาปัญญาตัวเองเป็นที่ตั้ง เข้าใจอัลกุรอานโดยปราศจากความเห็นของปราชญ์ บรรดาแนวคิดของอิสลามทั้งหมดที่แต่ละกลุ่มยึดถือไม่มีกลุ่มไหนเลย ปฏิเสธอัลหะดีษที่ซอฮีหฺ แต่แนวคิดกลุ่มนี้ปฏิเสธหมด หะดีษไหนไม่กินกับปัญญาของเขา เขาก็ปฏิเสธเพราะยึดถือว่าปัญญาของเขาคือที่สิ้นสุด ซึ่งโดยธรรมชาติทุกคนรู้ดีว่าคนเรามีความฉลาดไม่เท่ากัน มีความถนัดไม่เท่ากัน อัลกุรอานไม่สามารถตีความด้วยปัญญาของชาวบ้านทั่วไป มุสลิมคือผู้ที่ถือตามแนวทางของท่านนบีมุฮัมมัดและบรรดาสาวก หากใช้ปัญญาแล้วไซร้จะพบความผิดพลาดอันมากมาย เช่น อัลกุรอาน อยู่ในมือคนเขลา(ISIS) ที่ตีความอัลกุรอานจนเกิดความรุนแรง มันคือผลพวงมาจากการใช้ปัญญาของคน หากเขาเหล่านั้นเชื่อตามท่านนบีมุฮัมมัด เขา(ชาวบ้านหรือแนวร่วมที่หลงเชื่อ) ก็จะไม่ถูกคนเหล่านี้หลอก
กลุ่มคนที่ยึดแนวคิดอัลกุรอานียูน มักจะปฏิเสธหะดีษ แต่ก็ยังละหมาดในท่าเดียวกับมุสลิมทั่วไปที่ยึดถือหะดีษ โดยอ้างว่าพวกเขาเหล่านั้นละหมาดตามบรรพบุรุษ ซึ่งพวกเขาโชคดีที่บรรพบุรุษละหมาดตามหะดีษ หาไม่แล้ว คงละหมาดกันในท่าพิศดารแล้วอ้างว่ามาจากท่านนบี
ขอขอบคุณบทความสาระความรู้รอบโลก โดย ufabet
เครดิต : https://ufabets5.com/