
แพทยสภา มีขึ้นเพื่อควบคุมคุณภาพ
หรือแค่ระบบเอื้อประโยชน์ให้การธุรกิจสุขภาพ
แพทยสภามีหน้าที่อะไร มีประโยชน์แก่พวกเราอย่างไร
Centrovirtual จะพาคุณไปเรียนรู้กันครับ
แพทยสภา
กฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่เกี่ยวกับการแพทย์ฉบับแรกในประเทศไทยคือ พระราชบัญญัติการแพทย์พุทธศักราช 2466 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้บัญญัติให้มีองค์กรการควบคุมการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวกับการแพทย์ขึ้น เรียกว่า “สภาการแพทย์” และประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวกับการแพทย์นั้นตามกฎหมายฉบับนั้นเรียกว่า “การประกอบโรคศิลปะ”
รูปแบบของสภาการแพทย์ดังกล่าวกฎหมายกำหนดให้มีฐานะเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงซึ่งมีหน้าที่บังคับบัญชากรมสาธารณสุข ซึ่งได้แก่กระทรวงมหาดไทย (ขณะนั้นกระทรวงสาธารณสุขมีฐานะเป็นกรมเช่นเดียวกัน)
ดังนั้นสภาการแพทย์จึงมีฐานะทางราชการเท่ากับกรมสาธารณสุข มีลักษณะเป็นส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทย และไม่เปิดโอกาสให้มี “สมาชิก” เข้าสังกัดเพราะในกฎหมายไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องของสมาชิกไว้เลย หากจะเปรียบเทียบกับเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2457 แล้วจะเห็นว่า เนติบัณฑิตยสภาตามพระราชโองการนั้นมีสมาชิกได้หลายประเภท โครงสร้างของสภาการแพทย์กับเนติบัณฑิตยสภาจึงมีข้อแตกต่างกันอยู่
ต่อมาในพ.ศ. 2497 ได้มีประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2497 โดยยกเลิก พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 และตามที่ประกาศใช้ใหม่นี้บัญญัติให้มีองค์การประกอบโรคศิลปะขึ้นใหม่เรียกว่า “คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ” แทนสภาการแพทย์ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติที่ยกเลิกไปจึงเป็นอันว่า “สภาการแพทย์” ได้สิ้นสภาพลงใน พ.ศ. 2497 นั่นเอง
เมื่อมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 นั่นก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2497 พร้อม ๆ กันไปด้วย (คือ พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2511) และจากผลของ พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 ทำให้ :
1. พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาเวชกรรม ชั้นหนึ่ง ถูกยกเลิกไป
2. ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ แผนปัจจุบัน สาขาเวชกรรมชั้นหนึ่ง กลายสภาพเป็นสมาชิกของแพทยสภา โดยมิต้องสมัคร
3. ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาเวชกรรม ชั้นหนึ่ง กลายสภาพเป็นใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ดังนั้นผู้ที่เคยขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปะจากสภาการแพทย์เดิม จะกลายสภาพเป็น สมาชิกแพทยสภา และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 ด้วย เหตุนี้เองจึงกล่าวได้ว่า ต้นกำเนิดของแพทยสภาคือสภาการแพทย์ใน พ.ศ. 2466 นั่นเอง
ผู้ให้กำเนิดแพทยสภา
ภายหลังที่ประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ได้ไม่นาน ก็ได้มีร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมขึ้น เสนอไปยังรัฐบาลแต่มีอุปสรรคบางประการที่ไม่สามารถออกมาเป็นกฎหมายได้ และประกอบกับในขณะนั้นพระราชบัญญัติครูพุทธศักราช 2488 ซึ่งกำหนดให้มี “คุรุสภา” ขึ้นได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2487 (และคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ลงนามตราเป็น พระราชบัญญัติในวันที่ 9 มกราคม 2488) ก็ยิ่งทำให้ความพยายามจะผลักดันให้มีแพทยสภาย่อมมีเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ แม้กระทั่งจนถึง พ.ศ.2507 คณะกรรมการแพทยสมาคมฯ ได้พิจารณาให้มีการศึกษาการจัดตั้งแพทยสภาขึ้นก็ตามไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการอย่างไร
ต่อมาใน พ.ศ. 2509 ได้มีคณะกรรมการแพทย์ระดับบริหารเกิดขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย อธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการอื่นที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแพทย์อีกหลายท่าน คือประธานคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ (ปลัดกระทรวงสาธารณสุข) เลขาธิการนายทะเบียนคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อธิบดีกรมอนามัย อธิบดีกรมการแพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค กรมการแพทย์ กรรมการฝ่ายแพทย์ใน ก.พ. เจ้ากรมแพทย์ทหารบก นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ หัวหน้ากองแพทย์กรมตำรวจ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการสาธารณสุขเทศบาลนครกรุงเทพฯ นายกแพทยสมาคมฯ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้ากองกลางกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ช่วยเลขานุการ นอกจากนี้คณะกรรมการชุดนี้ยังมีคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษา การมีคณะกรรมการนี้ก็เพื่อให้มีการปฏิบัติงาน ประสานงาน และร่วมมือกันในทางการแพทย์และในการประชุมคณะกรรมการแพทย์ระดับบริหารครั้งที่ 4/2509 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2509 ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องสภาการแพทย์ และได้มีมติรับหลักการที่เห็นควรให้มีพระราชบัญญัติแพทยสภาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมมรรยาทของผู้ประกอบโรคศิลปะและวัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกับเนติบัณฑิตยสภา และให้มีสิทธิ์ในการสอบความรู้ โดยให้การขึ้นทะเบียนยังคงอยู่กับกระทรวงสาธารณสุขและที่ประชุมได้ตั้งอนุกรรมการขึ้น ประกอบด้วย
- นายแพทย์สงกราน นิยมเสน
- พลตำรวจตรีแสวง วัจนะสวัสดิ์
- นายแพทย์สนอง อูนากูล
- นายแพทย์เฉก ธนะศิริ
- นายแพทย์จำรัส ผลผาสุข
- นายทวี ฤกษ์จำนงค์
- นายสิริวัฒน์ วิเศษสิริ
และนอกจากตั้งอนุกรรมการดังกล่าว ก็ได้มีการร่างพระราชบัญญัติสภาการแพทย์ขึ้น โดยอาศัยพระราชบัญญัติเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2507 เป็นแนวทางและต่อมาได้มีการเปลี่ยนหลักการบางอย่างมา เป็นพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า คณะกรรมการแพทย์ระดับบริหาร เป็นผู้ให้กำเนิดแพทยสภาขึ้นใหม่เพื่อทดแทนสภาการแพทย์เดิม
เพื่อ??
ความจริงสัดส่วนไม่ได้เป็นประเด็นหลัก ปัญหาอยู่ที่ “แพทยสภาไทยป่วยหนัก” มีปัญหาด้านจริยธรรมเสียเอง ล้มเหลวเรื่องความไม่เป็นกลาง เป็นตัวการทำให้การแก้ไขปัญหาค่ารักษาแพงล้มไม่เป็นท่า ไม่เคารพอำนาจศาลที่เป็นกติกาสังคม ไม่มีใครตรวจสอบแพทยสภาไทยได้ (แพทยสภาประเทศอังกฤษ ถูกตรวจสอบโดยรัฐสภา) ถ้าไม่มีการโกง ไม่เห็นแก่ตัว ไม่หาประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบสาธารณสุข ไม่มือใครยาวสาวได้สาวเอา ไม่รังแกชาวบ้านตาดำๆ ที่ไม่มีทางสู้ เคารพกติกาสังคม เป็นตัวอย่างขององค์กรที่มีธรรมาภิบาลเหมือนหลักสูตรที่ตนเองเปิดสอน คงไม่มีใครไปยุ่งหรือคิด “ปฏิรูปแพทยสภา”
นายกแพทยสภาพูดว่า “เรื่องคดีหมดอายุความเพราะแพทยสภาตัดสินช้า ไม่เห็นเกี่ยวกับการฟ้องศาลตรงไหน”
- ปชช.ต้องการรู้ว่าหมอทำผิดหรือไม่ก่อนไปฟ้อง และแพทยสภาเป็นองค์กรเดียว ที่มีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานการรักษา ตามพรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525
- แพทยสภาล็อบบี้ตำรวจ สภาทนาย ราชวิทยาลัยฯลฯ ว่าก่อนดำเนินการใดต้องฟังความเห็นแพทยสภาก่อน
ถ้าท่านพูดแบบนี้ ต่อไปเวลาปชช.ไปฟ้องโดยไม่ขอความเห็นแพทยสภาก่อนและชนะคดีขึ้นมา ท่านต้องปิดปากเงียบ ห้ามออกมาหมิ่นศาลอีกว่าตัดสินโดยไม่มีความรู้ เพราะท่านก็เดินสายไปเป็นพยานศาลสู้กับคนไข้และได้เปรียบทุกทางแล้ว
นายกแพทยสภาพูดอีกว่า “เรื่องค่ารักษาพยาบาลก็ไม่เกี่ยวอะไรกับแพทยสภา”
ดิฉันขอบอกว่าเกี่ยว เพราะเวลามีการประชุมแก้ไขปัญหาค่ารักษารพ.เอกชนแพง ดิฉันไม่รู้ว่าท่านและกก.แพทยสภาอื่นที่ไปร่วมประชุม สวมหมวกใบไหนระหว่างระหว่างเจ้าของรพ.เอกชน สมาคมรพ.เอกชน หรือสภาวิชาชีพ ที่สำคัญท่านไม่ได้อยู่ข้างปชช. รวมทั้งส่งคนไปเป็นที่ปรึกษาของกรรมาธิการสาธารณสุข กุมอำนาจในระดับนโยบาย การแก้ไขปัญหาค่ารักษารพ.เอกชนแพง จึงล้มไม่เป็นท่าจนถึงทุกวันนี้
ขอขอบคุณบทความดีๆ มีสาระประโยชน์ โดย ufa168